การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) จัดกระบวนการจัดลำดับความสำคัญในประเด็นที่สำคัญ โดยการพิจารณาประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อบริษัททั้งในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และสิทธิมนุษยชน

ประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในทุกกลุ่ม บริษัทได้จัดลำดับความสำคัญตามการพิจารณาผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสีย ดังต่อไปนี้

มิติเศรษฐกิจ
  • 1
    จรรยาบรรณธุรกิจ
  • 2
    การบริหารความเสี่ยง
  • 3
    การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน
  • 4
    การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • 5
    การบริหารสินทรัพย์ที่มุ่งแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพอย่างยั่งยืน
มิติสิ่งแวดล้อม
  • 6
    การจัดการทรัพยากร เช่น น้ำประปา กระดาษ
  • 7
    การจัดการพลังงาน
  • 8
    การจัดการขยะ
  • 9 การจัดการก๊าซเรือนกระจก
มิติสังคมและสิทธมนุษยชน
  • 10
    การพัฒนาศักยภาพ
  • 11
    การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
  • 12
    การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม
  • 13 การรักษาข้อมูลลูกค้า
  • 14 ภาพลักษณ์องค์กรที่ยั่งยืน

กระบวนการกำหนดประเด็นที่มีนัยสำคัญ

บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ขององค์กร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว รวมถึงมีความมุ่งมั่นในการสื่อสารนโยบาย แนวทางการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ผ่านกระบวนการจัดทำรายงานความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ โดยบริษัทได้จัดทำรายงานดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียและสังคมโดยรวม

ทั้งนี้ รายงานความยั่งยืนฉบับนี้ได้นำมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนขององค์กรแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล (Global Reporting Initiative: GRI) ฉบับ GRI Standards 2021 และ UN SDGs มาปรับใช้ในกระบวนการจัดทำรายงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการรายงานมีความโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ บริษัท ยังคำนึงถึงหลัก Impact Materiality หรือความสำคัญของผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญสูงได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน โดยในกระบวนการนี้มีรายละเอียดการกำหนดเนื้อหาดังนี้

1. การระบุประเด็นที่มีนัยสำคัญ

บริษัท ได้ดำเนินการศึกษา รวบรวม และทบทวนข้อมูลสถานะปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลทั้งภายใน และภายนอกที่สอดคล้องกับบริบทการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น ภาวะการแข่งขันในตลาด โดยเปรียบเทียบประเด็นสำคัญร่วมกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน ในขณะเดียวกันยังได้วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินงาน ทิศทางกลยุทธ์ ความเสี่ยงและโอกาสด้านความยั่งยืน รวมถึงการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากนี้ ยังรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนถึงความคาดหวัง ข้อกังวล หรือผลกระทบจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การกำหนดหัวข้อความยั่งยืนประจำปี 2567 ของบริษัท โดยครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ทั้งมิติเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม

2. การจัดลำดับความสำคัญของประเด็น

บริษัท ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบที่มีนัยสำคัญซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยผ่านกระบวนการจัดลำดับความสำคัญ (Prioritization) โดยใช้หลักเกณฑ์ในการประเมินผล กระทบ ได้แก่ ระดับความรุนแรงของผลกระทบ (Severity) ความน่าจะเป็นของการเกิดผลกระทบ (Likelihood) รวมถึงกรอบนโยบายการดำเนินงานและความมุ่งมั่นขององค์กรในประเด็นดังกล่าว โดยสามารถระบุประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ (Material Topics) ครอบคลุมทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม

3. การประเมินผลกระทบที่มีนัยสำคัญ

บริษัท ชี้แจงการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นสาระสำคัญต่างๆ โดยการรวบรวมและประเมินข้อมูลเชิงลึกเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนและการกำกับดูแลกิจการเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาและตรวจสอบความถูกต้อง ความครบถ้วน และความสอดคล้องของข้อมูลกับนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่ารายงานการพัฒนาความยั่งยืนมีมาตรฐานและแสดงถึงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา ก่อนที่จะเปิดเผยในรายงานการพัฒนาความยั่งยืน

4. การทบทวนและพัฒนาต่อเนื่อง

บริษัท ให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาพัฒนาการดำเนินงานของบริษัท ให้ตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บริษัท ยังได้นำความคิดเห็นเหล่านี้มาปรับปรุงและยกระดับการเปิดเผยข้อมูลในรายงานการพัฒนาความยั่งยืนสำหรับปีถัดไป เพื่อให้มีความโปร่งใสและครอบคลุมในทุกมิติที่สำคัญ โดยมุ่งเน้นให้รายงานมีความถูกต้อง ชัดเจน และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล