การสนับสนุนและส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs)
ส่งเสริมความยั่งยืนระดับโลกผ่านการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs)

มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ
ส่งเสริมการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ความโปร่งใส และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
จรรณยาบรรณธุรกิจ
รายละเอียด:
ยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาลและจริยธรรมอันเคร่งครัด โดยดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีความรับผิดชอบในทุกมิติ เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียและผู้ถือหุ้น พร้อมมุ่งมั่นสร้างผลประโยชน์สูงสุดควบคู่กับการเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- การดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและยึดมั่นในบรรษัทภิบาลช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ลดโอกาสเกิดข้อพิพาทหรือปัญหาทางกฎหมาย
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- ผู้ร่วมทุน
- พนักงาน
- สถานบันการเงิน
การบริหารความเสี่ยง
รายละเอียด:
กลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยง ภาวะวิกฤต และการดำเนินการภายใต้สถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติ รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์นำพาธุรกิจให้ก้าวผ่านสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- การบริหารความเสี่ยงช่วยให้บริษัทสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยี
- ทำให้บริษัทสามารถปรับตัวและคงความสามารถในการแข่งขันได้ในระยะยาว
- หากการประเมินความเสี่ยงมีการคาดการณ์ผิดพลาด อาจนำไปสู่การเลือกกลยุทธ์ที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์จริง
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม/ชุมชน
- ลูกค้า/ผู้บริโภค
- พนักงาน
การต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชัน
รายละเอียด:
การดำเนินกิจการโดยมีระบบหรือกระบวนการที่โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทสามารถกำกับดูแลและจัดการธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมาย และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- เป็นประเด็นพื้นฐานที่บริษัทต้องดำเนินการ
- อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท และความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการลงทุน การทำธุรกิจร่วมกัน รวมถึงการใช้บริการ
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
รายละเอียด:
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนการสรรหาคู่ค้าที่เป็นธรรม การติดตาม และประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า และการกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบความเสี่ยงอาจเกิดขั้นในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้คู่ค้าสามารถส่งมอบความรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ตลอดจนการส่งเสริมคู่ค้าให้ดำเนินงานธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- บทบาทในการเป็นผู้นำที่ร่วมผลักดันความยั่งยืนให้กับห่วงโซ่อุปทาน ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ
- ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าทั้งในด้านคุณภาพ การบริการ และการดำเนินงานด้านความยั่งยืน
- การดำเนินงานของคู่ค้าที่อาจส่งผลกระทบถึงชุมชนและสังคม
- ส่งเสริมความโปร่งใสในการบริหารจัดการคู่ค้า
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การบริหารสินทรัพย์ที่มุ่งแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพอย่างยั่งยืน
รายละเอียด:
การดำเนินธุรกิจจัดการและปรับโครงสร้างหนี้ด้อยคุณภาพ (Non-Performing Loans: NPLs) ด้วยแนวทางที่คำนึงถึงความสมดุลระหว่างการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการสนับสนุนความยั่งยืนในสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางการเงินของลูกหนี้และสนับสนุนระบบเศรษฐกิจโดยรวมอย่างยั่งยืน
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- ลดจำนวนหนี้ด้อยคุณภาพในระบบและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกหนี้และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
- สถาบันการเงิน

มิติสิ่งเเวดล้อม
มุ่งเน้นที่การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และการอนุรักษ์ระบบนิเวศ
การจัดการทรัพยากร เช่น น้ำประปา กระดาษ
รายละเอียด:
การกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดให้มีการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน ตลอดจนมีกระบวนการในการป้องกันผลกระทบและการฟื้นฟูในกรณีที่มีผลกระทบ อาทิ การควบคุมการปลดปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางน้ำ และมลพิษอากาศ ตลอดจนการดำเนินการด้านการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะจากการขนส่งและการให้บริการ ครอบคลุมถึงการลดการสูญเสียอาหารและการเกิดขยะอาหารจากการดำเนินการอีกด้วย
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจการที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก
- โอกาสในการแสวงหาเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดการสูญเสียทรัพยากร
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การจัดการพลังงาน
รายละเอียด:
ความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทตลอดการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงกายภาพ (Physical Risks) และเชิงการเปลี่ยนแปลง (Transitional Risks) ที่อาจสร้างผลกระทบต่อบริษัท ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- โอกาสในการแสวงหาเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดการสูญเสียทรัพยากร
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การจัดการขยะ
รายละเอียด:
การดำเนินธุรกิจตามหลักระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุ เพื่อทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดห่วงโซ่อุปทาน และนำมาสู่การบริโภคอย่างยั่งยืน ปราศจากของเสียและมลพิษตลอดทั้งกระบวนการของสินค้าและบริการ
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- การร่วมกันบริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับลูกค้า
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การจัดการก๊าซเรือนกระจก
รายละเอียด:
ความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของบริษัทตลอดการดำเนินธุรกิจและห่วงโซ่อุปทาน ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงกายภาพ (Physical Risks) และเชิงการเปลี่ยนแปลง (Transitional Risks) ที่อาจสร้างผลกระทบต่อบริษัท ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- มีส่วนร่วมในการผลักดันและการเสริมสร้างความร่วมมือในการดำเนินการตอบสนองต่อเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับประเทศและระดับสากล
- การสร้างสรรค์แนวทางการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน

มิติสังคมและสิทธิมนุษยชน
ส่งเสริมความเสมอภาค ความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การพัฒนาศักยภาพพนักงาน
รายละเอียด:
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน ผ่านโครงการการพัฒนาพนักงานต่างๆ เช่น การฝึกอบรมทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตลอดจนการมีระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนา นอกจากนี้ ยังครอบคลุมถึงการดำเนินงานเพื่อรักษาพนักงานและลดอัตราการลาออก ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วม การมอบความก้าวหน้าและมั่นคงในสายอาชีพ และการจัดให้มีสวัสดิการและผลตอบแทนที่เหมาะสม ที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน
- ความก้าวหน้าและการสร้างความมั่นคงในสายอาชีพ
- การรักษาบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อพัฒนาองค์กร
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การส่งเสริมด้านอาชีพ
รายละเอียด:
สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสนับสนุนธุรกิจเกื้อกูลสังคม (Inclusive Business) ผ่านนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนา โครงการส่งเสริมการจ้างงาน โครงการพัฒนาอาชีพ โครงการยกระดับทักษะ (Upskill) และปรับเปลี่ยนทักษะ (Reskill) และโครงการปรับปรุงความรู้
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- โอกาสในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของพนักงานทั้งในด้านคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- สังคม / ชุมชน
- พนักงาน
การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียม
รายละเอียด:
การเสริมสร้างความหลากหลายและความเท่าเทียม ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร ที่สร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ยอมรับความหลากหลาย การเคารพซึ่งกันและกัน และการไม่เลือกปฏิบัติ อันเนื่องจากความแตกต่างในเรื่องอายุ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา ความพิการ การศึกษา และสัญชาติ
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- ส่งเสริมความเท่าเทียมในสังคมผ่านกระบวนการดำเนินงานของบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การรักษาข้อมูลลูกค้า
รายละเอียด:
การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการจัดให้มีระบบเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของข้อมูล และ/หรือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งการตอบสนองและจัดการเหตุการณ์ร้ายแรงด้านความปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการให้ความสำคัญกับข้อมูลความเป็นส่วนตัวและการสร้างความมั่นใจในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- ผลกระทบจากการรั่วไหลของข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสีย
- ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร
- เกิดโอกาสในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน
การมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น
รายละเอียด:
การดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนและสังคม ผ่านการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่สร้างประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนที่มีต่อองค์กร นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงการเป็นพลเมืองที่ดีด้วยการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs)
ผลกระทบเชิงบวก / ลบ:
- การสร้างโอกาสให้กับชุมชนและสังคม
- ลดความเสี่ยงในการสร้างผลกระทบที่เกิดจากธุรกิจ ต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม
- โอกาสในการผนวกกิจกรรมด้านสังคมเข้าไว้ในทุกๆ กระบวนการขององค์กร (CSR in Process)
ผู้มีส่วนได้เสีย:
- ผู้ถือหุ้น
- คู่ค้า
- สังคม / ชุมชน
- ลูกค้า / ผู้บริโภค
- พนักงาน