กรอบแนวทางและเป้าหมายด้านความยั่งยืน


จากการบูรณาการแนวคิดด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับแผนธุรกิจของบริษัท ทำให้บริษัทปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจและมุ่งสู่การบริหารงานที่คำนึงถึงความยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตลอดจนมีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทที่สมบูรณ์แบบที่สร้างโอกาสและประโยชน์ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจสังคมให้เติบโตไปพร้อมกับการอยู่ร่วมกันด้วยดีระหว่างบริษัทและชุมชนโดยรอบ บนพื้นฐานของการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม บริษัท จึงได้วางกลยุทธ์หลักในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนี้
กลยุทธ์และกรอบการพัฒนาความยั่งยืน
กลยุทธ์ที่ 1
การสร้างความมั่นคงทางธุรกิจด้วยจริยธรรมและธรรมาภิบาล
เป้าหมาย
- ในทุกปีการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจต้องเป็นศูนย์
- คู่ค้าและคู่ค้าใหม่ ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน (Zero Tolerance to Corruption)
- จัดการข้อร้องเรียนได้ 100% ตามระยะเวลาที่กำหนด
แนวทางการดำเนินงาน
- กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและโปร่งใส เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- พัฒนากระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงและใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
- ทำงานร่วมกับคู่ค้าเพื่อพัฒนามาตรฐานด้านจริยธรรมและความยั่งยืนในทุกขั้นตอน
- กำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ คุณธรรม จริยธรรม และเป็นธรรม
- จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนและกลไกการจัดการข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
- พัฒนากลยุทธ์ในการจัดการหนี้ด้อยคุณภาพที่สร้างสมดุลระหว่างการทำกำไรและการสนับสนุนเศรษฐกิจสังคม
กลยุทธ์ที่ 2
ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
เป้าหมาย
- เป็นบริษัทที่เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
- มุ่งมั่นที่จะลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีให้ได้อย่างต่อเนื่องร้อยละ 3
- ไม่ละเมิดกฎหมายสิ่งแวลดล้อมและสังคมของพนักงานและคู่ค้า
- คู่ค้าและคู่ค้าใหม่ ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
แนวทางการดำเนินงาน
- เสริมสร้างความสามารถในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มการดูดซับคาร์บอนในกิจกรรมต่างๆ
- ป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงานของบริษัทและคู่ค้า
- ปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทั้งภายในและภายนอกบริษัท
- เปิดเผยข้อมูลแนวปฎิบัติและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส
กลยุทธ์ที่ 3
สร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรและสังคม
เป้าหมาย
- ไม่มีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนที่มีนัยสำคัญในทุกกิจกรรมการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยของพนักงาน ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อคน/ต่อปี
- อัตราบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงานเป็นศูนย์
- สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในรัศมี 10 กิโลเมตรจากสำนักงานใหญ่ สำหรับกิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคมของบริษัท
แนวทางการดำเนินงาน
- ประเมินความเสี่ยงด้านมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Right Diligence) ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- พัฒนาบุคลากรด้านทักษะความรู้และทักษะทางสังคม รวมถึงการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพ
- ส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้มีส่วนได้เสียหลักทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- ส่งเสริมโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนบริเวณใกล้เคียงและสังคมโดยรวมให้คุณภาพที่ดีขึ้น